เตือน !! ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ 19 พื้นที่ ด้าน กทม. แนะ ประชาชนควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
วันนี้ (10 ม.ค. 66) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในช่วงเวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 34-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ค่าเฉลี่ยทั้ง กทม. อยู่ที่ 46.2 มคก./ลบ.ม.
พบว่าอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 19 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา: มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
2.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์: มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
3.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหสวรรย์: มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
4.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95: มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
5.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ ซอยเพชรเกษม 81: มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง ข้างป้อมตำรวจ: มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
7.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน: มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ: มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
10.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
12.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน): มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม: มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
15.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยจันทน์ 18/7 ถนนเซนต์หลุยส์: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
17.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
18.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับสภาวะฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ 5-11 มกราคม 2566 พบว่า เป็นเพราะอากาศไม่ยกตัว ทำให้เกิดภาวะอากาศปิด และอัตราการระบายอ่อน ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้การสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 ค่อนข้างทรงตัว
แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม จะมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีขึ้น เนื่องจากอากาศที่เปิดมากขึ้น ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรงเข้าช่วย
สำหรับการทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลาหรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และประชาชนภายในพื้นที่ ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 ในช่วงนี้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร